Ethereum ETH

สร้างโดย Support WaanX, แก้ไขเมื่อ วันพฤหัสบดี, 28 มีนาคม เมื่อ 12:40 PM โดย Support WaanX

Ethereum คือบล็อกเชนที่มีกลไกการทำงานแบบ Proof-of-Stake (PoS) และเป็นบล็อกเชนแห่งแรกที่สามารถใช้งานสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ซึ่งมีสกุลเงินดิจิทัลหลักคือ Ethereum (ETH) ที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับที่ 2 รองจาก Bitcoin

Ethereum ได้รับการพูดถึงครั้งแรกใน Whitepaper ของ Vitalik Buterin ในเดือนพฤศจิกายน ปี 255658 โดยบล็อกแรก (Genesis Block) ของบล็อกเชน Ethereum ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558   

 

Ethereum มีคุณสมบัติเด่นดังนี้

  • สัญญาอัจฉริยะ: Ethereum มีความสามารถในการสร้างและประมวลผลสัญญาอัจฉริยะซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในโค้ด โดยที่ไม่ต้องการบุคคลที่สามหรือการควบคุมจากศูนย์กลาง
  • ความยืดหยุ่นของ Blockchain: Ethereum ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นเมื่อเทียบกับบล็อกเชนอื่น ๆ ด้วยการใช้ภาษา Solidity ที่เป็นมิตรกับนักพัฒนา ทำให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp หรือ Decentralized Application) และใช้งานสัญญาอัจฉริยะได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • Ethereum Virtual Machine (EVM): EVM ที่มาพร้อมกับความสามารถในความเข้ากันได้ของสัญญาอัจฉริยะและเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถโยกย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลและเครื่องมือต่างๆ ระหว่างเครือข่ายที่เข้ากันได้กับ EVM ได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนภาษาในการเขียนโปรแกรมหรือใช้เครื่องมือที่ยุ่งยากใดๆ
  • Non-Fungible Token (NFT): Ethereum เป็นพื้นที่ที่สำคัญสำหรับการสร้างและจัดเก็บ NFT ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ระบุความเป็นเอกลักษณ์ของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นๆ ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้สามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เกม ศิลปะหรือเพลงได้อีกมากมาย
  • การอัปเกรดเครือข่าย: Ethereum มีการอัปเกรดเครือข่ายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายอยู่เสมอ เช่น การอัปเกรดที่ใช้ชื่อว่า The Merge ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยน Consensus จากระบบการทำงานแบบ Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof-of-Stake (PoS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลธุรกรรมและลดการใช้พลังงาน เป็นต้น
  • ความรวดเร็วในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่ต่ำ: Ethereum มีความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนได้อย่างรวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม (Gas) ที่ต่ำ ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ที่ต้องการความรวดเร็วในการจัดการธุรกรรมและต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ต่
  • ชุมชนผู้ใช้งานขนาดใหญ่: Ethereum มีชุมชนผู้ใช้งานและนักพัฒนาที่ใหญ่มาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักพัฒนาและนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ความปลอดภัย: Ethereum มีกลไกการทำงานแบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่ผู้ใช้งานสามารถนำ Ethereum ของตนมาล็อกไว้บนเครือข่ายเพื่อมีส่วนร่วมในการยืนยันธุรกรรมและช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย กระบวนการนี้จะช่วยให้เครือข่ายมีความปลอดภัยและรอดพ้นจากการโจมตีจากผู้ไม่พึงประสงค์ดี

 

การใช้งานของ Ethereum

  • Decentralized Finance (DeFi): Ethereum เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง (Decentralized Finance) ซึ่งมีแอปพลิเคชันที่ทำงานแบบไร้ตัวกลาง (Decentralized Application) เช่น UniSwap, Lido, Maker หรือ AAVE ให้บริการอยู่
  • Non-Fungible Token (NFT): Ethereum เป็นบล็อกเชนที่นิยมสำหรับการสร้างและซื้อขาย NFT ที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งมักถูกใช้ในงานศิลปะดิจิทัล เกมหรือของที่ระลึก เป็นต้น
  • Decentralized Autonomous Organization (DAOs): Ethereum ให้การสนับสนุนในการสร้าง DAO ซึ่งเป็นองค์กรอัตโนมัติที่ไม่มีการควบคุมจากศูนย์กลาง ซึ่งสมาชิกใน DAO สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างอิสระ
  • การเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Storage): Ethereum สามารถใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถเก็บข้อมูลแบบเข้ารหัสและแบบไม่มีศูนย์กลาง ทำให้ข้อมูลไม่สามารถถูกทำลายหรือแทรกแซงได้ง่าย 
  • เครือข่ายสำหรับการทดสอบ (Testnet)  : Ethereum มี Testnet (Goerli, Sepolia, Rinkeby และ  beaconcha.in) ที่นักพัฒนาสามารถใช้ในการทดสอบและพัฒนาแอปพลิเคชันและสัญญาอัจฉริยะได้อย่างอิสระโดยไม่กระทบกับผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานจริง

 

ช่องทางในการติดตามข้อมูลหรือข่าวสารของเหรียญ


Website: https://ethereum.org/en/ 

Whitepaper: https://ethereum.org/en/whitepaper/

Price-tracking: https://coinmarketcap.com/currencies/ethereum/

Ethereum News: https://cointelegraph.com/tags/ethereum


บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว