การเปิดรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing)

Posted 5 days ago by IT Support

  • Topic is Locked
IT Support
IT Support Admin

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท วาฬ เอ็กเชนจ์ จำกัด 


ระยะเวลารับฟังความคิดเห็น: 31 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2568


วันที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้: หลักเกณฑ์นี้จะมีผลบังคับหลังจากบริษัทฯ ได้รับความเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว โดยจะประกาศให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทราบรายละเอียดผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัทฯ ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน


แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็น: คลิกที่นี่


ภาพรวม:


วาฬ เอ็กซ์เชนจ์ มุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงระบบการติดตามและซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ รวมทั้งให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2567 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 และประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 5/2567 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด ทางบริษัทจึงมีความประสงค์จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท วาฬ เอ็กเชนจ์ จำกัด จึงขอเรียนเชิญท่านผู้ใช้บริการ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว


รายละเอียดการปรับปรุงหลักเกณฑ์:


  1. การขึ้นเครื่องหมายและลักษณะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • การเปลี่ยนแปลง: เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน หรือมีการแก้ไข แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนหรือการแก้ไขไวท์เปเปอร์ในกรณีที่ ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีการจัดทำไวท์เปเปอร์ ตาม 1. หรือ 2. ของส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในภาคผนวก 3 การกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการซื้อขาย ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการซื้อขาย ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากเดิมที่บริษัทจะขึ้นเครื่องหมาย SP (Trading Suspension) และหยุดการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั่วคราว เปลี่ยนแปลงเป็นการขึ้นเครื่องหมาย C (Caution)
  • เป็นเครื่องหมายเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอัน และไม่หยุดการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล


  • วัตถุประสงค์:
  • เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน
  • เพื่อให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Whitepaper และเงื่อนไขทางธุรกิจที่มีการอัปเดต
  • เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
  • เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำการซื้อขายได้ต่อไป โดยได้รับการแจ้งเตือนจากบริษัท

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บริษัทฯ)

สร้างความน่าเชื่อถือในฐานะธุรกิจที่ใส่ใจการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้ลงทุน

เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

บริษัทฯ ต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม

ผู้ซื้อขาย/ผู้ใช้งาน (User)

ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใสและอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Whitepaper และเงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้อง

สร้างความรู้และความเข้าใจในสิทธิประโยชน์หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระบบหรือผลิตภัณฑ์

อาจเกิดความกังวลในระยะสั้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ-


2. การขึ้นเครื่องหมายและลักษณะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง


  • วัตถุประสงค์:
  • เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน
  • เพื่อให้ลูกค้าทราบ สินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวมีข้อมูลข่าวสารที่สำคัญแต่มิได้ชี้แจงข่าวสารนั้นต่อศูนย์ซื้อขาย
  • เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
  • เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำการซื้อขายได้ต่อไป โดยได้รับการแจ้งเตือนจากบริษัท

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บริษัทฯ)

สร้างความน่าเชื่อถือในฐานะธุรกิจที่ใส่ใจการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้ลงทุน

เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

บริษัทฯ ต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม

ผู้ซื้อขาย/ผู้ใช้งาน (User)

สร้างความรู้และความเข้าใจในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระบบหรือผลิตภัณฑ์

ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกค้า

อาจเกิดความกังวลในระยะสั้นเกี่ยวกับข่าวสารที่เผยแพร่


3. การขึ้นเครื่องหมายและลักษณะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง

  • การเปลี่ยนแปลง: เพิ่มเติมเหตุการณ์ สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ระหว่างการปรับปรุง Hard Fork/Soft โดยบริษัทจะขึ้นเครื่องหมาย SP (Trading Suspension) และหยุดการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั่วคราว
  • วัตถุประสงค์:
  • เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ลงทุน
  • เพื่อให้ลูกค้าทราบ สินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวอยู่ระหว่างการปรับปรุง Hard Fork/Soft
  • เพื่อให้ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกค้า
  • เพื่อให้สอดคล้องกับภาคผนวกแนบท้ายประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 5/2567 เรื่อง แนวทางการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล


ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บริษัทฯ)

สร้างความน่าเชื่อถือในฐานะธุรกิจที่ใส่ใจการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้ลงทุน

เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

บริษัทฯ ต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม

ผู้ซื้อขาย/ผู้ใช้งาน (User)

ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงการเปลี่ยนแปลง Hard Fork/Softของสินทรัพย์ดิจิทัล

สร้างความรู้และความเข้าใจในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระบบหรือผลิตภัณฑ์

อาจเกิดความกังวลในระยะสั้นเกี่ยวกับข่าวสารที่เผยแพร่


4. เวลาทำการซื้อขาย และ การหยุดการซื้อขาย 

  • การเปลี่ยนแปลง: ปรับปรุงหัวข้อ เวลาทำการซื้อขาย และ การหยุดการซื้อขาย โดยเพิ่มเติมเหตุการณ์ที่บริษัทจะมีการหยุดให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และกำหนดระยะเวลาแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนดำเนินการหยุดบริการซื้อขาย (รายเหรียญ หรือ ทุกเหรียญ) และจะดำเนินการแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนเปิดให้บริการรซื้อขาย (รายเหรียญ หรือ ทุกเหรียญ) อีกครั้ง โดยมีเหตุกาณ์รวมทั้ง 10 เหตุการณ์ ดังนี้
  1. ผู้ออกหรือผู้สร้างสินทรัพย์ดิจิทัลฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง มติคณะกรรมการ ข้อตกลง ตลอดจนหนังสือเวียน ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
  2. การดำเนินการใดๆ ของภาครัฐหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจทางการปกครองที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการดำเนินงานตามปกติของบริษัทฯ
  3. เหตุสุดวิสัยที่มีผลกระทบต่อการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการดำเนินงานตามปกติที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ เช่น อัคคีภัย การก่อจลาจล การประท้วง สงคราม ระบบเครือข่ายการสื่อสารขัดข้อง เกิดภัยคุกคามทาง Cyber
  4. เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ศูนย์ซื้อขายฯ ติดตามจนมั่นใจแล้วว่าผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลได้ในทันทีหรือตามระยะเวลาตามสมควรแก่เหตุ (เช่นกรณีที่ปรากฏการเผยแพร่ข่าวสารซึ่งเข้าข่ายเป็นสาระสำคัญต่อผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวยังมิได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศูนย์ซื้อขายฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนดแม้ศูนย์ซื้อขายฯ จะมีการติดต่อประสานงานผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลหรือหน่วยงานภายในของผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกี่ยวข้องแล้วก็ตาม) หรือตามดุลพินิจของศูนย์ซื้อขายฯ
  5. การบำรุงรักษาระบบตามรอบระยะเวลา หมายถึง การตรวจสอบสภาพความพร้อมของระบบงานที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันว่ายังคงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดข้อบกพร่องใดๆ
  6. การปรับปรุงระบบการซื้อขาย หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ การเพิ่มทรัพยากรของระบบ หรือเพื่อแก้ไขช่องโหว่ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อป้องกันระบบจากผู้ไม่ประสงค์ดี เช่น การทำ security patching เป็นต้น
  7. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของสินทรัพย์ดิจิทัล หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการของสินทรัพย์ดิจิทัล อาทิเช่น การเปลี่ยนผู้ให้บริการกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับแพลตฟอร์มที่ใช้งานของสินทรัพย์ดิจิทัล
  8. การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัล (Upgrade Protocol) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงซอร์สโค้ดที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลที่สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นใช้งานอยู่ อาทิเช่น การเปลี่ยนฉันทามติ (consensus) ของโปรโตคอลของสินทรัพย์ดิจิทัล จาก Proof of Work เป็น Proof of Stake และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานของสินทรัพย์ดิจิทัล (token standard) ด้วย เช่น การอัพเกรดจากมาตรฐานDEL (Delist)
  9. สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ระหว่างการปรับปรุง Hard Fork/Soft Fork
  10. เหตุการณ์อื่นๆ ที่มีลักษณะเทียบเคียงและกระทบกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะนอกเหนือไปจากเหตุการณ์ปกติและมีความสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อราคา และอาจสร้างความเสียหายให้แก่นักลงทุน อาทิเช่น การพบช่องโหว่ในสัญญาอัจฉริยะของสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งอาจทำให้เกิดใช้งานในรูปแบบของการขโมย (hack) สินทรัพย์ดิจิทัลออกไปได้ผ่านช่องโหว่ของสัญญาอัจฉริยะ เช่น เหตุการณ์ของการพบช่องโหว่ในสัญญาอัจฉริยะของเหรียญ COVER ส่งผลให้ศูนย์ขายไบแนนซ์ประกาศหยุดซื้อขายสินทรัพย์ดังกล่าว(อ้างอิง https://www.binance.com/en-ZA/support/announcement/binance-will-suspend-cover-trading-and-cover-deposits-aec178a59f824162ab77a17a5d0838a5)
  • วัตถุประสงค์:
  • เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุน
  • เพื่อให้ลูกค้าทราบเหตุการณ์ที่บริษัทจะหยุดให้บริการซื้อขาย
  • เพื่อให้ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกค้า
  • เพื่อให้สอดคล้องกับภาคผนวกแนบท้ายประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 5/2567 เรื่อง แนวทางการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล


ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บริษัทฯ)

สร้างความน่าเชื่อถือในฐานะธุรกิจที่ใส่ใจการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้ลงทุน

เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

บริษัทฯ ต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม

ผู้ซื้อขาย/ผู้ใช้งาน (User)

ผู้ใช้งานสามารถทราบเหตุการณ์ที่บริษัทจะหยุดให้บริการ

สร้างความรู้และความเข้าใจในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระบบหรือผลิตภัณฑ์

อาจเกิดความกังวลในระยะสั้นเกี่ยวกับข่าวสารที่เผยแพร่


5. เพิ่มเติมหัวข้อ การกำหนดค่าธรรมเนียม

  • การเปลี่ยนแปลง: เพิ่มเติมหัวข้อ การกำหนดค่าธรรมเนียม โดยบริษัทกำหนดให้มีการเผยแพร่ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของ
  • วัตถุประสงค์:
  • เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุน
  • เพื่อให้ลูกค้าทราบค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ
  • เพื่อให้สอดคล้องกับภาคผนวกแนบท้ายประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 5/2567 เรื่อง แนวทางการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล


ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บริษัทฯ)

สร้างความน่าเชื่อถือในฐานะธุรกิจที่ใส่ใจการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้ลงทุน

เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

บริษัทฯ ต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม

ผู้ซื้อขาย/ผู้ใช้งาน (User)

ผู้ใช้งานสามารถทราบค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ

-


6. เพิ่มเติมหัวข้อ หลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลการส่งคำสั่งที่อาจก่อให้เกิดการสร้างราคาในตลาดรองหรือก่อให้เกิด False Market

  • การเปลี่ยนแปลง: เพิ่มเติมหัวข้อ หลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลการส่งคำสั่งที่อาจก่อให้เกิดการสร้างราคาในตลาดรองหรือก่อให้เกิด False Market ดังนี้ บริษัทกำหนดการกระทำที่อาจเข้าข่ายเป็นการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ก่อให้เกิดการสร้างราคาในตลาดรองหรือก่อให้เกิด False Market และมาตรการในการกำกับดูแล ไว้ดังนี้
  • การกระทำที่อาจเข้าข่ายเป็นการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ก่อให้เกิดการสร้างราคาในตลาดรองหรือก่อให้เกิด False Marke ได้แก่
  • การปล่อยข่าวลือหรือกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ (False dissemination) ซึ่งได้แก่ การบอกกล่าว การแพร่ข่าว หรือข้อความอันเป็นเท็จ รวมถึงข้อความใด ๆ โดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล(Issuer)หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ดิจิทัลหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในสินทรพัย์ดิจิทัล
  • การใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) ซึ่งได้แก่ การที่บุคคลใดอาศัยตำแหน่งหน้าที่ หรืออยู่ในฐานะที่มีสามารถล่วงรู้ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญของสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลและเขšามาทำการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ก่อนที่ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นและเป็นการซื้อขายที่ไม่เป็นธรรม
  • การสร้างราคาสินทรัพย์ดิจิทัล (Market Manipulation) ซึ่งได้แก่ การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีการซื้อขายในลักษณะจงใจหรือเจตนาบิดเบือนราคาและปริมาณการซื้อขายของสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผิดไปจากสภาพปกติโดยมีเจตนาหลอกลวงให้ผู้อื่นสำคัญผิดเกี่ยวกับราคาและปริมาณการซื้อขายของสินทรัพย์ดิจิทัล นั้นๆ และหวังผลประโยชน์จากการลวงการซื้อขายนั้น ได้แก่
  • การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในลักษณะจับคู่กันเอง ซึ่งในที่สุดบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการซื้อขายนั้นเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ไม่มีการเปลี่ยนมือกันจริง เพื่อลวงให้บุคคลอื่นหลงผิดในราคา หรือปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น
  • การผลักดันราคา โดยการพยายามทำให้ราคาสินทรัพย์ดิจิทัล ปรับตัวสูงขึ้น เพื่อหวังประโยชน์ที่จะขายสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ในราคาสูง หรือ ทำให้ราคาสินทรัพย์ดิจิทัล ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อหวังประโยชน์จากการที่จะเข้าไปซื้อในราคาต่ำ
  • การพยุงราคา เพื่อรักษาระดับราคาสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ให้สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น
  • การใส่ถอน เพื่ออำพรางให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่งมีความต้องการซื้อหรือขายมาก และ/หรือลวงบุคคลอื่นเพื่อซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล
  • มาตรการในการกำกับดูแล
  • บริษัทกำหนดให้มีการติดตามดูแลการส่งคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นไปตามนโยบายหลักเกณฑ์ระบบการตรวจสอบสภาพการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Market Surveillance)
  • วัตถุประสงค์:
  • เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุน
  • เพื่อให้ลูกค้าทราบหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลการส่งคำสั่งที่อาจก่อให้เกิดการสร้างราคาในตลาดรองหรือก่อให้เกิด False Market
  • เพื่อให้สอดคล้องกับภาคผนวกแนบท้ายประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 5/2567 เรื่อง แนวทางการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล


ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บริษัทฯ)

สร้างความน่าเชื่อถือในฐานะธุรกิจที่ใส่ใจการสื่อสารและการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ผู้ลงทุน

เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

บริษัทฯ ต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสารและการจัดการเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม

ผู้ซื้อขาย/ผู้ใช้งาน (User)

ผู้ใช้งานสามารถทราบค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ

-


วิธีการส่งความคิดเห็น: เราให้ความสำคัญกับข้อมูลจากผู้ใช้บริการ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ ท่านสามารถส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การซื้อขายผ่านลิงก์ Microsoft Forms ด้านบน โปรดส่งความคิดเห็นทั้งหมดภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 ความคิดเห็นทั้งหมดจะได้รับการพิจารณาก่อนที่จะมีการสรุปการเปลี่ยนแปลง


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:


ฝ่ายบริการลูกค้า วาฬ เอ็กซ์เชนจ์

อีเมล: [email protected]


วาฬ เอ็กซ์เชนจ์ขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความคิดเห็นจากท่าน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวาฬ เอ็กซ์เชนจ์และการพัฒนาการให้บริการต่อไป


0 Votes


0 Comments