ไม่มีการค้นหาล่าสุด
บทความที่ได้รับความนิยม
ขออภัย! ไม่พบอะไรสำหรับ
โพสต์แล้ว ประมาณ 13 ชั่วโมง ที่ผ่านมา โดย Application Support
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงทิศทางของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะ Stablecoin และสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ว่า “ธปท. ไม่ได้ปิดกั้นนวัตกรรมทางการเงิน และพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถยกระดับระบบการเงินไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความเสี่ยงที่อาจตามมาด้วยอย่างรอบคอบ”
โดยในมุมของ ธปท. สินทรัพย์ดิจิทัลจะเกี่ยวข้องกับสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอีกส่วนคือการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในฐานะ "สื่อกลางสำหรับการชำระเงิน" หรือ Means of Paymentซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของ ธปท.
Stablecoin ยังไม่ชัดเจน
ในกรณีของ Stablecoin นายเศรษฐพุฒิระบุว่า คำว่า Stablecoin นั้นยังเป็นคำที่มีความหมายกว้างและยังไม่มีความชัดเจน โดยบางประเภทอาจมีลักษณะคล้าย E-money ซึ่งความเสี่ยงอาจน้อยกว่า แต่ในบางกรณีที่พบในต่างประเทศ Stablecoin บางรูปแบบไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามีทรัพย์สินใดรองรับอยู่เบื้องหลัง ทำให้ไม่สามารถรักษามูลค่าให้คงที่ได้จริง จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ ธปท. ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนอนุญาตให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย
“หากจะมีนวัตกรรมใหม่เข้ามา ต้องตอบได้ชัดเจนว่า ดีกว่าระบบเดิมที่มีอยู่ โดยเฉพาะในแง่ของประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความปลอดภัยต่อระบบการเงินโดยรวม” นายเศรษฐพุฒิกล่าว
“พร้อมเพย์” ตอบโจทย์ดีอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ธปท. มองว่าระบบ “พร้อมเพย์” ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านการชำระเงินของประชาชนได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของต้นทุนที่ต่ำ ไม่มีค่าธรรมเนียม และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ จึงยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีนวัตกรรมใหม่เข้ามาทดแทนในเร็ววัน
เปิดโอกาสให้ทดลองนัวตกรรมใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังคงเปิดกว้างในการสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้เอกชนทดสอบบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ผ่านกลไก Regulatory Sandboxที่ช่วยให้สามารถทดลองใช้ในสภาพแวดล้อมจริงภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญคือการทดสอบโครงการ Retail CBDCหรือสกุลเงินดิจิทัลภาคประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองใช้งานในวงจำกัดร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการทางด้านการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) และร้านค้าบางแห่ง เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้งานจริง ความเสี่ยง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับระบบการเงินโดยรวม
นายเศรษฐพุฒิกล่าวว่า “แม้การทดสอบจะช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่หากถามว่าเราจะออก CBDC ในอีก 3-5 ปีหรือไม่ คำตอบคือ ยังไม่ออก เพราะเรายังไม่เห็น use case ที่ชัดเจนว่าควรใช้ CBDC แทนระบบที่มีอยู่ เช่น พร้อมเพย์”
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ธปท. ยังกล่าวถึงสถานการณ์ในต่างประเทศว่า ยังไม่มีประเทศใดที่สามารถนำ CBDC หรือ Stablecoin มาใช้ในการชำระเงินอย่างแพร่หลายได้อย่างแท้จริง เช่น จีนและบาฮามัส ก็ยังใช้ในวงจำกัดเท่านั้น
ธปท. ยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าทดสอบนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมประเมินความเสี่ยงและประโยชน์อย่างรอบด้าน เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยต่อประชาชนและระบบการเงินไทยโดยรวม
Disclaimer
รายงาน: Former Crypto Millionaire
เรียบเรียง: Mr. Darkroad
ที่มา: https://www.facebook.com/share/p/16fFBa5ZhS/?mibextid=wwXIfr
0 โหวต
0 ความคิดเห็น
คนที่ชอบสิ่งนี้
This post will be deleted permanently. Are you sure?
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงทิศทางของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะ Stablecoin และสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ว่า “ธปท. ไม่ได้ปิดกั้นนวัตกรรมทางการเงิน และพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถยกระดับระบบการเงินไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความเสี่ยงที่อาจตามมาด้วยอย่างรอบคอบ”
โดยในมุมของ ธปท. สินทรัพย์ดิจิทัลจะเกี่ยวข้องกับสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอีกส่วนคือการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในฐานะ "สื่อกลางสำหรับการชำระเงิน" หรือ Means of Paymentซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของ ธปท.
Stablecoin ยังไม่ชัดเจน
ในกรณีของ Stablecoin นายเศรษฐพุฒิระบุว่า คำว่า Stablecoin นั้นยังเป็นคำที่มีความหมายกว้างและยังไม่มีความชัดเจน โดยบางประเภทอาจมีลักษณะคล้าย E-money ซึ่งความเสี่ยงอาจน้อยกว่า แต่ในบางกรณีที่พบในต่างประเทศ Stablecoin บางรูปแบบไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามีทรัพย์สินใดรองรับอยู่เบื้องหลัง ทำให้ไม่สามารถรักษามูลค่าให้คงที่ได้จริง จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ ธปท. ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนอนุญาตให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย
“หากจะมีนวัตกรรมใหม่เข้ามา ต้องตอบได้ชัดเจนว่า ดีกว่าระบบเดิมที่มีอยู่ โดยเฉพาะในแง่ของประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความปลอดภัยต่อระบบการเงินโดยรวม” นายเศรษฐพุฒิกล่าว
“พร้อมเพย์” ตอบโจทย์ดีอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ธปท. มองว่าระบบ “พร้อมเพย์” ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านการชำระเงินของประชาชนได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของต้นทุนที่ต่ำ ไม่มีค่าธรรมเนียม และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ จึงยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีนวัตกรรมใหม่เข้ามาทดแทนในเร็ววัน
เปิดโอกาสให้ทดลองนัวตกรรมใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังคงเปิดกว้างในการสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้เอกชนทดสอบบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ผ่านกลไก Regulatory Sandboxที่ช่วยให้สามารถทดลองใช้ในสภาพแวดล้อมจริงภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญคือการทดสอบโครงการ Retail CBDCหรือสกุลเงินดิจิทัลภาคประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองใช้งานในวงจำกัดร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการทางด้านการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) และร้านค้าบางแห่ง เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้งานจริง ความเสี่ยง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับระบบการเงินโดยรวม
นายเศรษฐพุฒิกล่าวว่า “แม้การทดสอบจะช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่หากถามว่าเราจะออก CBDC ในอีก 3-5 ปีหรือไม่ คำตอบคือ ยังไม่ออก เพราะเรายังไม่เห็น use case ที่ชัดเจนว่าควรใช้ CBDC แทนระบบที่มีอยู่ เช่น พร้อมเพย์”
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ธปท. ยังกล่าวถึงสถานการณ์ในต่างประเทศว่า ยังไม่มีประเทศใดที่สามารถนำ CBDC หรือ Stablecoin มาใช้ในการชำระเงินอย่างแพร่หลายได้อย่างแท้จริง เช่น จีนและบาฮามัส ก็ยังใช้ในวงจำกัดเท่านั้น
ธปท. ยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าทดสอบนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมประเมินความเสี่ยงและประโยชน์อย่างรอบด้าน เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยต่อประชาชนและระบบการเงินไทยโดยรวม
Disclaimer
รายงาน: Former Crypto Millionaire
เรียบเรียง: Mr. Darkroad
ที่มา: https://www.facebook.com/share/p/16fFBa5ZhS/?mibextid=wwXIfr
0 โหวต
0 ความคิดเห็น