หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล

Created by Support WaanX, Modified on Wed, 27 Nov, 2024 at 2:14 PM by IT Support

หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rules)


ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท วาฬ เอ็กเชนจ์ จำกัด (Waan Exchange Co., Ltd.) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้ลงทุนและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างรอบคอบ เพื่อคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับการลงทุน 

 

ประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลตามเกณฑ์กำหนดของบริษัท 

บริษัทได้กำหนดประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ 2 ประเภท ดังนี้

สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ หมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นมาแล้วก่อนที่จะนำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท และไม่ได้เสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ประเภทที่ 1

สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 1 ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้

  1. เป็นคริปโทเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัลที่มีการซื้อขายได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินตามที่ปรากฎในหน้าเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. 
  2. มีไวท์เปเปอร์ (whitepaper) ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัล
  3. มีการซื้อขาย ณ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างน้อย 1 แห่ง โดยศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวต้องมีชื่อปรากฎใน website ที่น่าเชื่อถือ เช่น www.coinmarketcap.com เป็นต้น
  4. มีรายชื่ออยู่ใน 1,000 ลำดับแรกของเว็บไซต์ Coinmarketcap.com หรือเว็บไซต์ coingecko.com
  5. มีจำนวนเหรียญหมุนเวียน (Circulating Supply) ไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญ 
  6. มีช่องทางให้ติดตามข้อมูล ความคืบหน้า หรือ ข่าวสารของเหรียญ เช่น มี Homepage ของผู้ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล
  7. ไม่ได้เสนอขายผ่าน ICO portal ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

 

การเพิกถอน

เหตุแห่งการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 1 เมื่อเข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ข้อใด ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Issuer)มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหรือยุติการซื้อขาย
  2. สินทรัพย์ดิจิทัลมีลักษณะที่เข้าข่ายหลอกลวง ฉ้อโกง
  3. สินทรัพย์ดิจิทัลมีราคาซื้อขายเท่ากับศูนย์บาท (-0-)
  4. สินทรัพย์ดิจิทัลมีการถูกโจรกรรมคิดเป็นปริมาณมากกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนสินทรัพย์ดิจิทัลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ (Circulating Supply)
  5. ไม่ปฏิบัติตามไวท์เปเปอร์ (whitepaper) และ ข้อกำหนดในสาระสำคัญ 
  6. กรณีอื่น ๆ ที่อาจทำให้พิจารณาได้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายแก่นักลงทุน หรือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ห้ามนำมาให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ออกมาในภายหลัง

 

สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 2 หมายถึง สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) และได้รับอนุญาตการเสนอขายจากสำนักงาน ก.ล.ต. ดังนี้ 

  1. โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน” (investment token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เ์พื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ 
  2. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (utility token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกโทเคนดิจิทัลและผู้ถือโทเคนดิจิทัล 
  3. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่พร้อมใช้ (Utility Token ไม่พร้อมใช้) หมายความว่า โทเคนดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีวัตถุประสงค์ที่จะนาเงินที่ได้จากการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ไปสร้างหรือพัฒนาสินค้าหรือบริการเพื่อให้ผู้ถือสามารถใช้ประโยชน์ตามสิทธิของโทเคนดิจิทัลนั้น ๆ ได้
    1. กลุ่มที่ 1 คือ Utility Token ไม่พร้อมใช้ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น บัตรกำนัลดิจิทัล คูปองที่ออกในรูปแบบโทเคน โทเคนที่ให้สิทธิในการแลกบัตรคอนเสิร์ต บัตร fan meeting บัตรโดยสารเครื่องบิน คะแนนโหวตไอดอล การกดดาวหรือของขวัญให้ Influencer หรือ Youtuber งานศิลปะ รูปภาพ เพลง แสตมป์หรือวิดีโอในรูปแบบ Non-Fungible Token หรือ NFT ซึ่งมีการให้สิทธิที่เฉพาะเจาะจงแก่ผู้ถือ NFT และโทเคนดิจิทัลที่ใช้แทนใบรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น ใบรับรองพลังงาน ทดแทน carbon credit 
    2. กลุ่มที่ 2 คือ Utility Token ไม่พร้อมใช้ลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มที่ 1 ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการ อุปโภคบริโภค ไม่ใช้แทนใบรับรองหรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น โทเคนที่ให้สิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้งานบนศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ใช้ชำระค่าธรรมเนียม เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม สะสมเพื่อเลื่อนระดับสมาชิก
  4. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ (Utility Token พร้อมใช้)   หมายความว่า โทเคนดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ซึ่งพร้อมที่จะให้ผู้ถือสามารถใช้ประโยชน์ได้
    1. กลุ่มที่ 1 คือ Utility Token พร้อมใช้ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น บัตรกำนัลดิจิทัล คูปองที่ออกในรูปแบบโทเคน โทเคนที่ให้สิทธิในการแลกบัตรคอนเสิร์ต บัตร fan meeting บัตรโดยสารเครื่องบิน คะแนนโหวตไอดอล การกดดาวหรือของขวัญให้ Influencer หรือ Youtuber งานศิลปะ รูปภาพ เพลง แสตมป์หรือวิดีโอในรูปแบบ Non-Fungible Token หรือ NFT ซึ่งมีการให้สิทธิที่เฉพาะเจาะจงแก่ผู้ถือ NFT และโทเคนดิจิทัลที่ใช้แทนใบรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น ใบรับรองพลังงาน ทดแทน carbon credit 
    2. กลุ่มที่ 2 คือ Utility Token พร้อมใช้ลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มที่ 1 ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการ อุปโภคบริโภค ไม่ใช้แทนใบรับรองหรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น โทเคนที่ให้สิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้งานบนศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ใช้ชำระค่าธรรมเนียม เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม สะสมเพื่อเลื่อนระดับสมาชิก

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ประเภทที่ 2

สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 2 ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้

  1. ได้รับอนุญาตการเสนอขายจากสำนักงาน ก.ล.ต.
  2. โทเคนดิจิทัลต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ใน “แบบฟอร์มรวบรวมข้อมูลคุณสมบัติของการเสนอขายโทเคนดิจิทัล”
  3. ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องมีส่วนของทุนไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
  4. มูลค่าโครงการที่ออกและเสนอขายไม่น้อยกว่า 10,000,000 ล้านบาท (สิบล้านบาท) 
  5. ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล ต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายอาญาในลักษณะหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่อยู่ใน บัญชีรายชื่อผู้มีประวัติการกระทำความผิดหรือประวัติการทุจริตและไม่กระทำความผิดใด ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการ สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับ สินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจงนั้น ๆ
  6. มีไวท์เปเปอร์ (whitepaper) ที่มีความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ แผนธุรกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทาง การใช้สิทธิของสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง
  7. ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล ต้องมีแผนดำเนินการในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจงที่ชัดเจน (Road map) เช่น มีสินค้าต้นแบบ (Prototype) และมีระดับ Minimum Viable Product (MVP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
  8. ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล มีช่องทางสำหรับให้ติดตามข้อมูล ความคืบหน้า หรือ ข่าวสารของเหรียญ เช่น มี Homepage หรือมีการเชื่อมโยงไปที่แหล่งข้อมูล (Link)
  1. กรณี ICO Portal จัดให้มีผู้ประเมินอิสระ หรือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผู้ประเมินอิสระต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเภทธุรกิจของโครงการอย่างน้อย 1 ปี

 

การเพิกถอน

เหตุแห่งการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 2 เมื่อเข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ข้อใด ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหรือยุติการซื้อขายของบริษัท
  2. สินทรัพย์ดิจิทัลมีลักษณะที่เข้าข่ายหลอกลวง ฉ้อโกง
  3. ไม่ปฏิบัติตามไวท์เปเปอร์ (whitepaper) และ ข้อกำหนดในสาระสำคัญ เช่น ไม่มีความคืบหน้าตามที่กำหนด

กรณีอื่น ๆ ที่อาจทำให้พิจารณาได้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายแก่นักลงทุน หรือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ห้ามนำมาให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกมาในภายหลัง


โดยสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทที่นำมาให้บริการลูกค้าจะต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ต้องไม่นำโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ หรือคริปโทเคอร์เรนซี ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
    1. ไม่มีวัตถุประสงค์หรือสาระชัดเจนหรือไม่มีสิ่งใดรองรับโดยมีราคาขึ้นอยู่กับกระแสในโลกโซเชียล (Meme Token) 
    2. เกิดจากกระแสความชื่นชอบส่วนบุคคล (Fan Token) 
    3. โทเคนดิจิทัลที่ออกโดยผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเอง หรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลดังนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์สำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน (blockchain)  
      1. กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ
      2. คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (1.3.1)
      3. นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (1.3.1) มีอำนาจควบคุมกิจการ
      4. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ทั้งนี้ตามลักษณะที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดลักษณะของ กิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยอนุโลม
      5. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่พร้อมใช้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
      6. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
      7. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้นอกเหนือจาก ข และมีลักษณะดังนี้
        1. ไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติในหมวด 3 การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
        2. เป็นโทเคนดิจิทัลที่ไม่มีข้อกำหนดให้นำไปซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
  2. ในกรณีที่มีการรับโทเคนดิจิทัลที่มีการเสนอขายในราคาต่ำกว่าราคาที่เสนอขายต่อประชาชนมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลาการห้ามขาย (silent period) โทเคนดิจิทัลดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่มีการส่งมอบโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ลงทุนในกรณีที่นำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
  3. ในกรณีที่เป็นโทเคนดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เสนอขายต่อประชาชนต่องมีข้อกำหนดในการพิจารณาคัดเลือกที่สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน
  4. ในกรณีที่เป็นโทเคนดิจิทัลที่ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เสนอขายต่อประชาชน หรือคริปโทเคอร์เรนซี ต้องมีข้อกำหนดในการพิจารณาคัดเลือกอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
    1. ลักษณะของโทเคนดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี
    2. ความชัดเจนของแผนธุรกิจ โครงการ หรือกิจการ
    3. สิทธิของผู้ถือโทเคนดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี
    4. กลไกการบังคับใช้สิทธิ สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) การเป็ดเผยรหัสต้นทาง (source code) หรือเอกสารอื่นซึ่งมีรายละเอียดและสามารถเทียบเคียงได้ในลักษณะเดียวกัน
    5. ไวท์เปเปอร์ (white paper) หรือเอกสารอื่นซึ่งมีรายละเอียดและสามารถเทียบเคียงได้ในลักษณะเดียวกัน
    6. ความน่าเชื่อถือของโทเคนดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีโดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
    7. เหตุอันควรสงสัยว่าอาจเป็นโทเคนดิจิทัลที่หลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน
  5. ต้องไม่นำสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
    1. สินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    2. สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม (privacy coin) โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
      1. มีการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน และปริมาณการโอน
      2. มีการกำหนดสิทธิให้กับผู้ถือสามารถควบคุมการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอนหรือปริมาณการโอนได้
      3. มีลักษณะอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
    3. เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ 
  6. กำหนดให้เพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าเงื่อนไขตามภาคผนวก 3 ของของประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) ข้อ 39/1 (1) ดังนี้
    1. เมื่อผู้ออกโทเคนดิจิทัลไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในไวท์เปเปอร์ (white paper) และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญ ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลเป็นผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการซื้อขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวเองหรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้อง ดังนี้
      1. กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ
      2. คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (6.1.1)
      3. นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (6.1.1) มีอำนาจควบคุมกิจการ
      4. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ทั้งนี้ตามลักษณะที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดลักษณะของ กิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยอนุโลม

เมื่อผู้ออกโทเคนดิจิทัลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกำหนด





Was this article helpful?

That’s Great!

Thank you for your feedback

Sorry! We couldn't be helpful

Thank you for your feedback

Let us know how can we improve this article!

Select at least one of the reasons
CAPTCHA verification is required.

Feedback sent

We appreciate your effort and will try to fix the article