หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rules)
ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท วาฬ เอ็กเชนจ์ จำกัด (Waan Exchange Co., Ltd.) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้ลงทุนและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างรอบคอบ เพื่อคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับการลงทุน
ประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลตามเกณฑ์กำหนดของบริษัท
บริษัทได้กำหนดประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ 2 ประเภท ดังนี้
สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 1 หมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นมาแล้วก่อนที่จะนำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท และไม่ได้เสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ประเภทที่ 1
สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 1 ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
- เป็นคริปโทเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัลที่มีการซื้อขายได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินตามที่ปรากฎในหน้าเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง.
- มีไวท์เปเปอร์ (whitepaper) ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัล
- มีการซื้อขาย ณ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างน้อย 1 แห่ง โดยศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวต้องมีชื่อปรากฎใน website ที่น่าเชื่อถือ เช่น www.coinmarketcap.com เป็นต้น
- มีรายชื่ออยู่ใน 1,000 ลำดับแรกของเว็บไซต์ Coinmarketcap.com หรือเว็บไซต์ coingecko.com
- มีจำนวนเหรียญหมุนเวียน (Circulating Supply) ไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญ
- มีช่องทางให้ติดตามข้อมูล ความคืบหน้า หรือ ข่าวสารของเหรียญ เช่น มี Homepage ของผู้ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล
- ไม่ได้เสนอขายผ่าน ICO portal ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
การเพิกถอน
เหตุแห่งการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 1 เมื่อเข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ข้อใด ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ผู้ออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Issuer)มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหรือยุติการซื้อขาย
- สินทรัพย์ดิจิทัลมีลักษณะที่เข้าข่ายหลอกลวง ฉ้อโกง
- สินทรัพย์ดิจิทัลมีราคาซื้อขายเท่ากับศูนย์บาท (-0-)
- สินทรัพย์ดิจิทัลมีการถูกโจรกรรมคิดเป็นปริมาณมากกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนสินทรัพย์ดิจิทัลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ (Circulating Supply)
- ไม่ปฏิบัติตามไวท์เปเปอร์ (whitepaper) และ ข้อกำหนดในสาระสำคัญ
- กรณีอื่น ๆ ที่อาจทำให้พิจารณาได้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายแก่นักลงทุน หรือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ห้ามนำมาให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ออกมาในภายหลัง
สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 2 หมายถึง สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) และได้รับอนุญาตการเสนอขายจากสำนักงาน ก.ล.ต. ดังนี้
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน” (investment token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เ์พื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (utility token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกโทเคนดิจิทัลและผู้ถือโทเคนดิจิทัล
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่พร้อมใช้ (Utility Token ไม่พร้อมใช้) หมายความว่า โทเคนดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีวัตถุประสงค์ที่จะนาเงินที่ได้จากการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ไปสร้างหรือพัฒนาสินค้าหรือบริการเพื่อให้ผู้ถือสามารถใช้ประโยชน์ตามสิทธิของโทเคนดิจิทัลนั้น ๆ ได้
- กลุ่มที่ 1 คือ Utility Token ไม่พร้อมใช้ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น บัตรกำนัลดิจิทัล คูปองที่ออกในรูปแบบโทเคน โทเคนที่ให้สิทธิในการแลกบัตรคอนเสิร์ต บัตร fan meeting บัตรโดยสารเครื่องบิน คะแนนโหวตไอดอล การกดดาวหรือของขวัญให้ Influencer หรือ Youtuber งานศิลปะ รูปภาพ เพลง แสตมป์หรือวิดีโอในรูปแบบ Non-Fungible Token หรือ NFT ซึ่งมีการให้สิทธิที่เฉพาะเจาะจงแก่ผู้ถือ NFT และโทเคนดิจิทัลที่ใช้แทนใบรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น ใบรับรองพลังงาน ทดแทน carbon credit
- กลุ่มที่ 2 คือ Utility Token ไม่พร้อมใช้ลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มที่ 1 ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการ อุปโภคบริโภค ไม่ใช้แทนใบรับรองหรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น โทเคนที่ให้สิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้งานบนศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ใช้ชำระค่าธรรมเนียม เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม สะสมเพื่อเลื่อนระดับสมาชิก
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ (Utility Token พร้อมใช้) หมายความว่า โทเคนดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ซึ่งพร้อมที่จะให้ผู้ถือสามารถใช้ประโยชน์ได้
- กลุ่มที่ 1 คือ Utility Token พร้อมใช้ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น บัตรกำนัลดิจิทัล คูปองที่ออกในรูปแบบโทเคน โทเคนที่ให้สิทธิในการแลกบัตรคอนเสิร์ต บัตร fan meeting บัตรโดยสารเครื่องบิน คะแนนโหวตไอดอล การกดดาวหรือของขวัญให้ Influencer หรือ Youtuber งานศิลปะ รูปภาพ เพลง แสตมป์หรือวิดีโอในรูปแบบ Non-Fungible Token หรือ NFT ซึ่งมีการให้สิทธิที่เฉพาะเจาะจงแก่ผู้ถือ NFT และโทเคนดิจิทัลที่ใช้แทนใบรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น ใบรับรองพลังงาน ทดแทน carbon credit
- กลุ่มที่ 2 คือ Utility Token พร้อมใช้ลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มที่ 1 ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการ อุปโภคบริโภค ไม่ใช้แทนใบรับรองหรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ เช่น โทเคนที่ให้สิทธิในการเข้าถึงสินค้าและบริการบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้งานบนศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ใช้ชำระค่าธรรมเนียม เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม สะสมเพื่อเลื่อนระดับสมาชิก
หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ประเภทที่ 2
สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 2 ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้
- ได้รับอนุญาตการเสนอขายจากสำนักงาน ก.ล.ต.
- โทเคนดิจิทัลต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ใน “แบบฟอร์มรวบรวมข้อมูลคุณสมบัติของการเสนอขายโทเคนดิจิทัล”
- ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องมีส่วนของทุนไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
- มูลค่าโครงการที่ออกและเสนอขายไม่น้อยกว่า 10,000,000 ล้านบาท (สิบล้านบาท)
- ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล ต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายอาญาในลักษณะหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่อยู่ใน บัญชีรายชื่อผู้มีประวัติการกระทำความผิดหรือประวัติการทุจริตและไม่กระทำความผิดใด ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการ สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับ สินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจงนั้น ๆ
- มีไวท์เปเปอร์ (whitepaper) ที่มีความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ แผนธุรกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทาง การใช้สิทธิของสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง
- ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล ต้องมีแผนดำเนินการในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจงที่ชัดเจน (Road map) เช่น มีสินค้าต้นแบบ (Prototype) และมีระดับ Minimum Viable Product (MVP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
- ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล มีช่องทางสำหรับให้ติดตามข้อมูล ความคืบหน้า หรือ ข่าวสารของเหรียญ เช่น มี Homepage หรือมีการเชื่อมโยงไปที่แหล่งข้อมูล (Link)
- กรณี ICO Portal จัดให้มีผู้ประเมินอิสระ หรือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผู้ประเมินอิสระต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเภทธุรกิจของโครงการอย่างน้อย 1 ปี
การเพิกถอน
เหตุแห่งการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่ 2 เมื่อเข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ข้อใด ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ เจ้าของโครงการ หรือ บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหรือยุติการซื้อขายของบริษัท
- สินทรัพย์ดิจิทัลมีลักษณะที่เข้าข่ายหลอกลวง ฉ้อโกง
- ไม่ปฏิบัติตามไวท์เปเปอร์ (whitepaper) และ ข้อกำหนดในสาระสำคัญ เช่น ไม่มีความคืบหน้าตามที่กำหนด
กรณีอื่น ๆ ที่อาจทำให้พิจารณาได้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายแก่นักลงทุน หรือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ห้ามนำมาให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกมาในภายหลัง
โดยสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทที่นำมาให้บริการลูกค้าจะต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
- ต้องไม่นำโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ หรือคริปโทเคอร์เรนซี ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- ไม่มีวัตถุประสงค์หรือสาระชัดเจนหรือไม่มีสิ่งใดรองรับโดยมีราคาขึ้นอยู่กับกระแสในโลกโซเชียล (Meme Token)
- เกิดจากกระแสความชื่นชอบส่วนบุคคล (Fan Token)
- โทเคนดิจิทัลที่ออกโดยผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเอง หรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลดังนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์สำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน (blockchain)
- กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ
- คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (1.3.1)
- นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (1.3.1) มีอำนาจควบคุมกิจการ
- บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ทั้งนี้ตามลักษณะที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดลักษณะของ กิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยอนุโลม
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่พร้อมใช้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
- โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้นอกเหนือจาก ข และมีลักษณะดังนี้
- ไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติในหมวด 3 การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
- เป็นโทเคนดิจิทัลที่ไม่มีข้อกำหนดให้นำไปซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- ในกรณีที่มีการรับโทเคนดิจิทัลที่มีการเสนอขายในราคาต่ำกว่าราคาที่เสนอขายต่อประชาชนมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลาการห้ามขาย (silent period) โทเคนดิจิทัลดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่มีการส่งมอบโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ลงทุนในกรณีที่นำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
- ในกรณีที่เป็นโทเคนดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เสนอขายต่อประชาชนต่องมีข้อกำหนดในการพิจารณาคัดเลือกที่สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน
- ในกรณีที่เป็นโทเคนดิจิทัลที่ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เสนอขายต่อประชาชน หรือคริปโทเคอร์เรนซี ต้องมีข้อกำหนดในการพิจารณาคัดเลือกอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
- ลักษณะของโทเคนดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี
- ความชัดเจนของแผนธุรกิจ โครงการ หรือกิจการ
- สิทธิของผู้ถือโทเคนดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี
- กลไกการบังคับใช้สิทธิ สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) การเป็ดเผยรหัสต้นทาง (source code) หรือเอกสารอื่นซึ่งมีรายละเอียดและสามารถเทียบเคียงได้ในลักษณะเดียวกัน
- ไวท์เปเปอร์ (white paper) หรือเอกสารอื่นซึ่งมีรายละเอียดและสามารถเทียบเคียงได้ในลักษณะเดียวกัน
- ความน่าเชื่อถือของโทเคนดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีโดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
- เหตุอันควรสงสัยว่าอาจเป็นโทเคนดิจิทัลที่หลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน
- ต้องไม่นำสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- สินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม (privacy coin) โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
- มีการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน และปริมาณการโอน
- มีการกำหนดสิทธิให้กับผู้ถือสามารถควบคุมการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอนหรือปริมาณการโอนได้
- มีลักษณะอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
- เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
- กำหนดให้เพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าเงื่อนไขตามภาคผนวก 3 ของของประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) ข้อ 39/1 (1) ดังนี้
- เมื่อผู้ออกโทเคนดิจิทัลไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในไวท์เปเปอร์ (white paper) และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญ ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลเป็นผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการซื้อขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวเองหรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้อง ดังนี้
- กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ
- คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (6.1.1)
- นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (6.1.1) มีอำนาจควบคุมกิจการ
- บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ทั้งนี้ตามลักษณะที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดลักษณะของ กิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยอนุโลม
- เมื่อผู้ออกโทเคนดิจิทัลไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดในไวท์เปเปอร์ (white paper) และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญ ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลเป็นผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการซื้อขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวเองหรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้อง ดังนี้
เมื่อผู้ออกโทเคนดิจิทัลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกำหนด
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว