กฎเกณฑ์การจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker Rules)

สร้างโดย Support WaanX, แก้ไขเมื่อ วันศุกร์, 1 พฤศจิกายน เมื่อ 3:39 PM โดย Support WaanX

การรับผู้ดูแลสภาพคล่อง

บริษัทแบ่งผู้ดูแลสภาพคล่องเป็น 3 ประเภท คือ บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย นิติบุคคลที่จดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายไทย และ นิติบุคคลที่จดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ

โดยผู้ดูแลสภาพคล่องแต่ละประเภท ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้

  1. บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
    1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์
    2. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และเข้าใจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะต้องแสดงเอกสารหลักฐาน เพื่อแสดงว่า
      • เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
      • เป็นนักลงทุนในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี
    3. มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องได้อย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีเงินลงทุนของตนเองครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
    4. เป็นผู้มีประวัติที่ดี ไม่มีการกระทำหรืออาจกระทำทุจริตผิดกฎหมาย โดย
      • ไม่มีประวัติอาชญากรรมในคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือฉ้อโกงปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ
      • ไม่มีเป็นบุคคลที่มีรายชื่อเป็นบุคคลล้มละลายตามฐานข้อมูลของกรมบังคับคดี และ
      • ไม่มีประวัติการกระทำผิดตามกฎหมายการป้องกันการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของสำนักงาน ปปง. และ
      • ไม่มีประวัติการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ฉ้อโกง 
    5. มีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ดูแลสภาพคล่องสำหรับบุคคลธรรมดาเพียงประเภทบัญชีเดียว (ไม่อนุญาตให้เปิดบัญชีซื้อขายบุคคลธรรมดาทั่วไปอีก)
  1. นิติบุคคล (จดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายไทย หรือ กฎหมายต่างประเทศ)
    1. เป็นนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้นๆ 
    2. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และเข้าใจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะต้องแสดงเอกสารหลักฐาน เพื่อแสดงว่า
      • เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
      • มีประสบการณ์ลงทุนในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
      • ผู้บริหารสูงสุด หรือผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ มีคุณสมบัติตาม (2) (ก) หรือ (ข)
    3. มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องได้อย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
    4. กรรมการ ผู้บริหาร ผู้รับมอบอำนาจ และผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เป็นผู้มีประวัติที่ดี ไม่มีการกระทำหรืออาจกระทำทุจริตผิดกฎหมาย โดย
      • ไม่มีประวัติอาชญากรรมในคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือฉ้อโกง ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ
      • ไม่เป็นนิติบุคคลที่มีรายชื่อเป็นนิติบุคคลล้มละลายตามฐานข้อมูลของกรมบังคับคดี และ
      • ไม่มีประวัติการกระทำผิดตามกฎหมายการป้องกันการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และ ไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของสำนักงาน ปปง. และ
      • ไม่มีประวัติการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ฉ้อโกง
      • กรณีที่เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทจะตรวจสอบข้อมูลตามข้อ (ก) (ข) และ (ค) และแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น Google ข้อ (ง) บริษัทจะให้ผู้สมัครผู้ดูแลสภาพคล่อง Self-Declare
    5. มีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ดูแลสภาพคล่องสำหรับนิติบุคคลเพียงประเภทบัญชีเดียว (ไม่อนุญาตให้เปิดบัญชีซื้อขายสำหรับนิติบุคคลทั่วไปอีก)

ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง

บริษัทกำหนดให้ผู้ดูแลสภาพคล่องปฏิบัติหน้าที่ในขอบเขต ดังนี้

  1. ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และรวมถึงประกาศแนวทางที่เกี่ยวข้อง
  2. ไม่ให้ความร่วมมือหรือความช่วยเหลือแก่บุคคลอื่นที่กระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และรวมถึงกฎหมาย เกณฑ์ หรือประกาศแนวทางอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. ไม่ส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล (False Market / Manipulate) ตามที่บริษัทกำหนด ไม่ส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยใช้ข้อมูลภายใน 
  4. การซื้อขายด้วยระบบการซื้อขายโดยผู้ดูแลสภาพคล่องให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Trading Rule) ที่บริษัทกำหนด และสามารถส่งคำสั่งประเภท Limit Orders เท่านั้น ไม่สามารถใช้คำสั่ง Market Order (บริษัทไม่มีคำสั่งประเภท Post Only)
  5. บริษัทกำหนดให้ส่วนงานตรวจสอบการซื้อขาย (Market Surveillance) มีหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามการซื้อขายของผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อป้องกันการกระทำที่อาจเข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย โดยระบบซื้อขายสามารถป้องกันการส่งคำสั่งซื้อขายที่จับคู่กันเองได้ (Wash Sale)
  6. คำสั่งที่ส่งโดยผู้ดูแลสภาพคล่องรายเดียวกันจะไม่สามารถจับคู่กันเอง (Wash Sale) ได้ แต่อาจเกิดการจับคู่ซื้อขายกับผู้ดูแลสภาพคล่องรายอื่นได้ ซึ่งส่วนงาน Market Surveillance มีหน้าที่ตรวจสอบว่า การจับคู่ซื้อขายนั้นเข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหรือไม่ 
  7. ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องทำการเสนอซื้อและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Limit Order เพื่อให้ราคาเสนอซื้อและเสนอขายไปปรากฏในระบบการซื้อขายของบริษัท เพื่อรอการจับคู่ หรือ เพื่อทำการจับคู่คำสั่งที่มีอยู่แล้ว
  8. ผู้ดูแลสภาพคล่องชำระราคาค่าซื้อขาย พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และค่าธรรมเนียมอื่นๆ (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ และอัตราตามที่บริษัทกำหนด หรือเป็นไปตามที่ตกลงกันตามที่ระบุในสัญญาผู้ดูแลสภาพคล่อง 
  9. ผู้ดูแลสภาพคล่องอาจจะได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติหน้าที่หรือสิทธิประโยชน์อื่น ตามอัตราตามที่บริษัทกำหนด หรือเป็นไปตามที่ตกลงกันตามที่ระบุในสัญญาผู้ดูแลสภาพคล่อง 
  10. ผู้ดูแลสภาพคล่องสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดเกิดขึ้น ดังนี้
    1. ข้อตกลงหรือสัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องถึงระยะเวลาสิ้นสุดลง
    2. ถูกลงโทษในระดับที่ต้องยกเลิกการเป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง
    3. ผู้ดูแลสภาพคล่องมีความประสงค์ขอยกเลิกการปฏิบัติหน้าที่ โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 45 วัน โดยส่งทางอีเมล ก่อนวันสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดยบริษัทจะดำเนินการตามกระบวนการยกเลิกผู้ดูแลสภาพคล่อง 

ข้อบังคับและการกำกับดูแล

บริษัทมีข้อบังคับและการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ดูแลสภาพคล่องปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตที่บริษัทกำหนดไว้ ดังนี้

  1. กำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงหรือสัญญากับผู้ดูแลสภาพคล่องเป็นลายลักษณ์อักษร
  2. กำหนดให้ผู้ดูแลสภาพคล่องรายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องในทันทีหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ผ่านทางอีเมล ให้กับฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด (mm@waanx.com) เช่น ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากระบบส่งคำสั่งมีปัญหา
  3. ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดแจ้งการหยุดปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องชั่วคราวให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจทราบทางอีเมล เพื่อประกาศให้ลูกค้าทราบทาง Website ของบริษัทต่อไป
  4. ส่วนงานตรวจสอบการซื้อขาย (Market Surveillance) มีหน้าที่ตรวจสอบการซื้อขาย รายการ False Market และ การกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย ผ่านระบบ Market Surveillance
  5. ฝ่ายปฏิบัติการมีหน้าที่รายงานข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องไปยังสำนักงาน ก.ล.ต. ตามรูปแบบ วิธีการ และอยู่ภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด (ข้อมูลรายวัน และข้อมูลรายเดือน)
  6. กำหนดให้มีบทลงโทษผู้ดูแลสภาพคล่องที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ กระทำการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้กระทำไว้กับบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร โดยบริษัทสามารถลงโทษผู้ดูแลสภาพคล่องตามบทลงโทษข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกัน ดังนี้
    1. การตักเตือน 
    2. การกำชับ
    3. การภาคทัณฑ์ 
    4. การปรับเป็นเงิน 10,000 -500,000 บาท 
    5. การยกเลิกผู้ดูแลสภาพคล่อง

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว