การรับผู้ดูแลสภาพคล่อง
บริษัทแบ่งผู้ดูแลสภาพคล่องเป็น 3 ประเภท คือ บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย นิติบุคคลที่จดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายไทย และ นิติบุคคลที่จดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ
โดยผู้ดูแลสภาพคล่องแต่ละประเภท ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
- บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
- อายุ 20 ปีบริบูรณ์
- มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และเข้าใจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะต้องแสดงเอกสารหลักฐาน เพื่อแสดงว่า
- เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
- เป็นนักลงทุนในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี
- มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องได้อย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีเงินลงทุนของตนเองครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
- เป็นผู้มีประวัติที่ดี ไม่มีการกระทำหรืออาจกระทำทุจริตผิดกฎหมาย โดย
- ไม่มีประวัติอาชญากรรมในคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือฉ้อโกงปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ
- ไม่มีเป็นบุคคลที่มีรายชื่อเป็นบุคคลล้มละลายตามฐานข้อมูลของกรมบังคับคดี และ
- ไม่มีประวัติการกระทำผิดตามกฎหมายการป้องกันการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของสำนักงาน ปปง. และ
- ไม่มีประวัติการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ฉ้อโกง
- มีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ดูแลสภาพคล่องสำหรับบุคคลธรรมดาเพียงประเภทบัญชีเดียว (ไม่อนุญาตให้เปิดบัญชีซื้อขายบุคคลธรรมดาทั่วไปอีก)
- นิติบุคคล (จดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายไทย หรือ กฎหมายต่างประเทศ)
- เป็นนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้นๆ
- มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และเข้าใจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะต้องแสดงเอกสารหลักฐาน เพื่อแสดงว่า
- เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
- มีประสบการณ์ลงทุนในตลาดทุนหรือตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
- ผู้บริหารสูงสุด หรือผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ มีคุณสมบัติตาม (2) (ก) หรือ (ข)
- มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องได้อย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
- กรรมการ ผู้บริหาร ผู้รับมอบอำนาจ และผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เป็นผู้มีประวัติที่ดี ไม่มีการกระทำหรืออาจกระทำทุจริตผิดกฎหมาย โดย
- ไม่มีประวัติอาชญากรรมในคดีเกี่ยวกับการทุจริตหรือฉ้อโกง ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ
- ไม่เป็นนิติบุคคลที่มีรายชื่อเป็นนิติบุคคลล้มละลายตามฐานข้อมูลของกรมบังคับคดี และ
- ไม่มีประวัติการกระทำผิดตามกฎหมายการป้องกันการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และ ไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของสำนักงาน ปปง. และ
- ไม่มีประวัติการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ฉ้อโกง
- กรณีที่เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนก่อตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทจะตรวจสอบข้อมูลตามข้อ (ก) (ข) และ (ค) และแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น Google ข้อ (ง) บริษัทจะให้ผู้สมัครผู้ดูแลสภาพคล่อง Self-Declare
- มีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ดูแลสภาพคล่องสำหรับนิติบุคคลเพียงประเภทบัญชีเดียว (ไม่อนุญาตให้เปิดบัญชีซื้อขายสำหรับนิติบุคคลทั่วไปอีก)
ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง
บริษัทกำหนดให้ผู้ดูแลสภาพคล่องปฏิบัติหน้าที่ในขอบเขต ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และรวมถึงประกาศแนวทางที่เกี่ยวข้อง
- ไม่ให้ความร่วมมือหรือความช่วยเหลือแก่บุคคลอื่นที่กระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และรวมถึงกฎหมาย เกณฑ์ หรือประกาศแนวทางอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ไม่ส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล (False Market / Manipulate) ตามที่บริษัทกำหนด ไม่ส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยใช้ข้อมูลภายใน
- การซื้อขายด้วยระบบการซื้อขายโดยผู้ดูแลสภาพคล่องให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Trading Rule) ที่บริษัทกำหนด และสามารถส่งคำสั่งประเภท Limit Orders เท่านั้น ไม่สามารถใช้คำสั่ง Market Order (บริษัทไม่มีคำสั่งประเภท Post Only)
- บริษัทกำหนดให้ส่วนงานตรวจสอบการซื้อขาย (Market Surveillance) มีหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามการซื้อขายของผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อป้องกันการกระทำที่อาจเข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย โดยระบบซื้อขายสามารถป้องกันการส่งคำสั่งซื้อขายที่จับคู่กันเองได้ (Wash Sale)
- คำสั่งที่ส่งโดยผู้ดูแลสภาพคล่องรายเดียวกันจะไม่สามารถจับคู่กันเอง (Wash Sale) ได้ แต่อาจเกิดการจับคู่ซื้อขายกับผู้ดูแลสภาพคล่องรายอื่นได้ ซึ่งส่วนงาน Market Surveillance มีหน้าที่ตรวจสอบว่า การจับคู่ซื้อขายนั้นเข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหรือไม่
- ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องทำการเสนอซื้อและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Limit Order เพื่อให้ราคาเสนอซื้อและเสนอขายไปปรากฏในระบบการซื้อขายของบริษัท เพื่อรอการจับคู่ หรือ เพื่อทำการจับคู่คำสั่งที่มีอยู่แล้ว
- ผู้ดูแลสภาพคล่องชำระราคาค่าซื้อขาย พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และค่าธรรมเนียมอื่นๆ (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ และอัตราตามที่บริษัทกำหนด หรือเป็นไปตามที่ตกลงกันตามที่ระบุในสัญญาผู้ดูแลสภาพคล่อง
- ผู้ดูแลสภาพคล่องอาจจะได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติหน้าที่หรือสิทธิประโยชน์อื่น ตามอัตราตามที่บริษัทกำหนด หรือเป็นไปตามที่ตกลงกันตามที่ระบุในสัญญาผู้ดูแลสภาพคล่อง
- ผู้ดูแลสภาพคล่องสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดเกิดขึ้น ดังนี้
- ข้อตกลงหรือสัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องถึงระยะเวลาสิ้นสุดลง
- ถูกลงโทษในระดับที่ต้องยกเลิกการเป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง
- ผู้ดูแลสภาพคล่องมีความประสงค์ขอยกเลิกการปฏิบัติหน้าที่ โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 45 วัน โดยส่งทางอีเมล ก่อนวันสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดยบริษัทจะดำเนินการตามกระบวนการยกเลิกผู้ดูแลสภาพคล่อง
ข้อบังคับและการกำกับดูแล
บริษัทมีข้อบังคับและการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ดูแลสภาพคล่องปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตที่บริษัทกำหนดไว้ ดังนี้
- กำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงหรือสัญญากับผู้ดูแลสภาพคล่องเป็นลายลักษณ์อักษร
- กำหนดให้ผู้ดูแลสภาพคล่องรายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องในทันทีหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ผ่านทางอีเมล ให้กับฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด ([email protected]) เช่น ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากระบบส่งคำสั่งมีปัญหา
- ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดแจ้งการหยุดปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องชั่วคราวให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจทราบทางอีเมล เพื่อประกาศให้ลูกค้าทราบทาง Website ของบริษัทต่อไป
- ส่วนงานตรวจสอบการซื้อขาย (Market Surveillance) มีหน้าที่ตรวจสอบการซื้อขาย รายการ False Market และ การกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย ผ่านระบบ Market Surveillance
- ฝ่ายปฏิบัติการมีหน้าที่รายงานข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องไปยังสำนักงาน ก.ล.ต. ตามรูปแบบ วิธีการ และอยู่ภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด (ข้อมูลรายวัน และข้อมูลรายเดือน)
- กำหนดให้มีบทลงโทษผู้ดูแลสภาพคล่องที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ กระทำการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้กระทำไว้กับบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร โดยบริษัทสามารถลงโทษผู้ดูแลสภาพคล่องตามบทลงโทษข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อรวมกัน ดังนี้
- การตักเตือน
- การกำชับ
- การภาคทัณฑ์
- การปรับเป็นเงิน 10,000 -500,000 บาท
- การยกเลิกผู้ดูแลสภาพคล่อง
Was this article helpful?
That’s Great!
Thank you for your feedback
Sorry! We couldn't be helpful
Thank you for your feedback
Feedback sent
We appreciate your effort and will try to fix the article